เวทีพลเมืองไท “บ้านเมือง…เรื่องของเรา” เป็นการจัดเวทีสนทนาเพื่อการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสาธารณะและพัฒนาท้องถิ่นให้น่าอยู่ ออกอากาศทางไททีวี 1 (TTV 1)
กองบรรณาธิการ:ทีมสื่อสารสาธารณะ |
||||||
โครงการผลิตรายการทางโทรทัศน์ “บ้านเมือง…เรื่องของเรา” เป็นความร่วมมือระหว่าง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ กับ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอร์เปอเรชั่น (Nation Channel) เป็นการจัดเวทีสนทนาเพื่อการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสาธารณะและพัฒนาท้องถิ่นให้น่าอยู่ ออกอากาศทางไททีวี 1 (TTV 1) วันจันทร์ที่ 10, 17, 24, 31 มกราคม 2548 ระหว่างเวลา 22.10–23.30 น. (Rerun วันอังคารเวลา 14.10–15.30 น.) และถ่ายทอดสดวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในเทปแรกจะบันทึกรายการในวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2548 ในประเด็น วิกฤตแม่น้ำปราจีน เพื่อหาทางจัดการปัญหาแม่น้ำปราจีนทั้งด้านคุณภาพน้ำ ปริมาณ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม |
||||||
1. เพื่อเปิดเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และหาข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาและแก้ปัญหาร่วมกันของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง 2. นำเนื้อหา และประเด็นในพื้นที่มาเสนอในเวทีไตร่ตรองอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้กรอบความคิด ที่เห็นองค์ประกอบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา พร้อมทางออกที่เป็นทางเลือก (Choices) 3. กระตุ้นความมีส่วนร่วมของผู้ชม ให้ตระหนักถึงประเด็นปัญหาสาธารณะที่เกิดขึ้นในสังคม
โดยในวันเสาร์ที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมา เวลา 17.00 – 20.00 น. ณ ลานแพร่งภูธร (หลังสถานีกาชาด) ถ.แพร่งภูธร แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีการบันทึกเทปรายการ ในประเด็น “วิกฤตแม่น้ำปราจีน” เพื่อหาทางจัดการปัญหาแม่น้ำปราจีนทั้งด้านคุณภาพน้ำ ปริมาณ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม |
||||||
1. กลุ่มประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำ/ กลางน้ำ และปลายน้ำ 2. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (อบจ./ อบต./ ทรัพยากรน้ำ ภาค 6/ ชลประทาน ฯลฯ) 3. ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม 4. นักวิชาการ 5. องค์กรพัฒนาเอกชน 7. ภาคีพันธมิตร 35 จังหวัด 8. คณะอนุกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำบางปะกง ปราจีนบุรี 9. กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำปราจีนบุรี 10. เครือข่ายประชาชนคนปราจีนบุรี 11. ชมรมธุรกิจท่องเที่ยวปราจีนบุรี 12. ชมรมรักษ์แม่น้ำปราจีนบุรี 13. กลุ่มประมงพื้นบ้านท่างาม 14. ทีมสนับสนุนกลาง/ ทีมติดตามประสานภูมิภาค/ ทีมติดตามประเมินผลภายใน |
||||||
|
||||||
ในช่วงท้าย อ.ขวัญสรวง อติโพธิ กล่าวสรุปประเด็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนในวันนี้ว่า “ในปราจีนต้องทนกับน้ำหลายชนิด –น้ำเน่าเสีย -น้ำท่วม -น้ำแล้ง –น้ำเค็ม ชาวนาที่ทำนาปรังมีปัญหามาก มีการแย่งน้ำทำนาเป็นแสนไร่ เพราะราคาดี ราคายั่วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีคนทำตามมาก นาปีที่อยู่ท่ามกลางนาปรังก็ทำไม่ได้ จึงต้องจำใจทำนาปรัง |
||||||
ตัวงานที่ปราจีนบอกว่า โรงงานที่ใช้น้ำมีอยู่ไม่มาก อยู่ห่างน้ำไปก็มากหากปล่อยก็จะชัด มีนักวิชาการกล่าวว่าเพราะเรื่องน้ำทิ้งกับโรงงานบำบัดหรือไม่ หรือว่าสารพิษที่กลบฝังออกมาจากน้ำใต้ดิน สุดท้ายฝ่ายโรงงานบอกว่าเอาวิชาการความรู้มาคุยกันดีกว่า รีสอร์ทมีอยู่ที่ต้นน้ำ 5 หลัง ไม่เดือดร้อนมากแต่กำลังบ่นว่ามีเล้าหมูมาอยู่ต้นน้ำด้วย คนอยู่เมืองบอกว่ารีสอร์ทบุกรุกและเมื่อไรผังเมืองจะทำได้เสียที |
||||||
– ทางสมุทรปราการบอกว่า ของเขาเรื้อรังเรื่องโรงบำบัดน้ำเสีย กำลังมีปัญหาเรื่องเลี้ยงกุ้ง – กาญจนบุรีบอกว่า น้ำเขาต้นทุนเยอะ ป่าเขาแบ่งหารเปอร์เซ็นต์ เอามาเก็บไว้หลังเขื่อนแต่ส่งไปที่อื่น ตอนนี้กำลังตั้งเครือข่ายผู้ขาดแคลนน้ำ เมืองกาญฯมีน้ำเยอะแต่ตกไปที่อื่น อาจารย์พีรพันธ์ นักวิชาการบอกว่าว่า ท่ามกลางความไม่รู้และดิ้นรน มีความรู้และเทคนิครออยู่เยอะ เรื่องปลากระชังต่างๆ น้ำนิ่ง แก้ได้ จำนวนหรือความหนาแน่นเอาวิชาการมาคำนวณได้
|
Be the first to comment on "กิจกรรม เวทีพลเมืองไท บ้านเมืองเรื่องของเรา ตอนวิกฤตแม่น้ำปราจีน"